Home สื่อและสิ่งพิมพ์ออนไลน์ Events การประชุมส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 7

การประชุมส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 7

การประชุมส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 7


1. ที่มาและความสำคัญ

ประชาคมโลก รวมถึงสังคมไทยสมัยใหม่ รับรู้ความหมาย “กิจกรรมทางกาย(Physical Activity, PA) ที่กว้างขวางมากกว่าการออกกำลังกาย กล่าวคือ กิจกรรมทางกาย หมายถึง การขยับเคลื่อนไหวร่างกายทั้งหมดในชีวิตประจำวันทั้งในการทำงาน (Active at Work) การเดินทาง (Active Travel) โดยการเดินหรือการขี่จักรยาน และกิจกรรมนันทนาการ (Active Creation)

WHO หรือองค์การอนามัยโลก แนะนำว่า ประชาชนที่มีอายุ 18-59 ปี ควรมีกิจกรรมทางกาย (ระดับปานกลาง) อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ ในขณะที่หากเป็นวัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรมีกิจกรรมทากงาย (ระดับปานกลาง 3วันต่อสัปดาห์ กลุ่มเด็กและวัยรุ่น 6-17 ปี ควรมีกิจกรรมทางกายสะสมอย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน

การเดินและการใช้จักรยาน (Walk and Bike) เพื่อเดินทางนั้น เป็นกิจกรรมทางกายที่ถูกกล่าวถึงในกลุ่มของการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน ที่ควรส่งเสริมสนับสนุน เพราะนอกจากเป็นประโยชน์ด้านสุขภาพแล้ว ยังเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

การเดินและการใช้จักรยาน สามารถตอบโจทย์ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations, UN ) ที่ให้ความสำคัญและกำหนดให้มี เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals ; SDGs) โดยจะต้องบรรลุผลสำเร็จให้ได้ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) รวมทั้ง องค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) ได้มีแผนปฏิบัติการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย (Global Action Plan on Physical Activity 2018-2030; GAPPA) ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์และ 20 แผนงาน ในการส่งเสริมให้พลเมืองมีกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) เพิ่มมากขึ้นอย่างน้อย 15 % ในปี 2030 กระทรวงสาธารณสุข สสส. และหน่วยงานด้านสุขภาพต่างๆ ถือเป็นภารกิจสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ

มูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย (Thailand Walking and Cycling Institute Foundation) องค์กรพัฒนาเอกชน มีเป้าหมายส่งเสริมให้สังคมไทย เลือกการเดินทางในชีวิตประจำวัน ด้วยการเดินและการใช้จักรยาน ทำงานทั้งส่วนขับเคลื่อนระดับนโยบาย ปฏิบัติการเชิงรุกระดับชุมชน พื้นที่ และส่วนสำคัญหลักคือ งานศึกษาวิจัยและค้นหาข้อมูลด้านวิชาการ เพราะข้อมูลที่ถูกต้องและแนวทางที่เหมาะสม ความต้องการที่แท้จริงของชุมชน เมือง เป็นส่วนสำคัญในการสร้างแรงผลักดันให้ภาคนโยบายให้ความสำคัญ และสนับสนุนให้เกิดการเดินและการใช้จักรยานอย่างเป็นรูปธรรม เพราะไม่ใช่เพียงเพื่อลดปัญหาการมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพิ่มกิจกรรมทางกาย (เพิ่ม PA ลด SB) ในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่การส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ยังสอดคล้องตามเป้าหมายของโลกด้วย

สสส. และมูลนิธิฯ จึงจัดให้มีการประชุมส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 7 ขึ้น The 7th Thailand Bike and Walk Forum “ ประเด็นหลัก Think Globally, Bike – Walk Locally” ส่งเสริมเดิน ปั่น เพิ่มกิจกรรมทางกาย ลดภาวะเนือยนิ่ง ในท้องถิ่น สร้างสุขภาพดีต่อเมือง-โลก

2. วัตถุประสงค์
2.1 นำเสนอผลงานวิจัยด้านการเดินและการใช้จักรยาน ของนักวิจัยเครือข่าย และนักวิจัยทั่วไป
2.2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชุดประสบการณ์การทำงานด้านการเดินและการใช้จักรยาน มุมมองด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
2.3 ร่วมถกแถลง และนำเสนอแนวทาง การจัดการเมือง ชุมชน ให้เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยาน เพิ่มกิจกรรมทางกาย สร้างสุขภาวะที่ดี

3. กลุ่มเป้าหมาย
3.1 ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น ท้องที่ เอกชน
3.2 นักวิจัย นักวิชาการ อาจารย์ นักศึกษา
3.3 ประชาสังคม NGOs ภาคีเครือข่าย สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป

4. วัน เวลา และสถานที่
4.1 การประชุมส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน (ประเทศไทย) ครั้งที่ 7 วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2562 เวลา 09:00 – 16:00 น. สถานที่: อาคารเคเอกซ์ ( Knowledge Exchange for Innovation Center )

4.2 กิจกรรม Bike & Walk Trip วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2562
เวลาและสถานที่ อยู่ระหว่างประสานงาน

5. รูปแบบการประชุม

5.1 นำเสนอผลการศึกษาวิจัยและผลงานวิชากาด้านการเดินและการใช้จักรยาน ที่เชื่อมโยงในมิติต่างๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของเมือง และหรือชุมชนที่สนใจ อาทิ
(1) กลุ่มกิจกรรมที่ 1 Active Societies นำเสนองานวิจัยที่สามารถนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงค่านิยม ทัศนคติและพฤติกรรม บรรทัดฐานของสังคม เพื่อสร้างและส่งเสริมให้เมือง ชุมชน เดินและใช้จักรยานในชีวิตประจาวัน
(2) กลุ่มกิจกรรมที่ 2 Active Environments นำเสนองานวิจัยที่นำเสนอรูปแบบการพัฒนา ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน กายภาพ สภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เมือง ชุมชน สามารถเดินและใช้จักรยานเพื่อเดินทางในชีวิตประจาวันได้ รวมถึงสามารถเข้าถึงได้อย่างปลอดภัยและเท่าเทียม
(3) กลุ่มกิจกรรมที่ 3 Active People นำเสนองานวิจัยที่สร้างการรับรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อคนในเมือง ชุมชน สถานศึกษา ต่อการเดินและการใช้จักรยาน ที่เป็นส่วนหนึ่งของการมีกิจกรรมทางกาย
(4) กลุ่มกิจกรรมที่ 4 Active System นำเสนองานวิจัยที่เสนอแนวคิดต่อหน่วยงานรัฐ ท้องถิ่น ท้องที่ ในการกำหนดนโยบาย มาตรการหรือการบังคับใช้กฎหมายของเมือง ชุมชน เพื่อส่งเสริมหรือจัดการให้มีระบบการเดินและการจักรยานในชีวิตประจำวัน

5.2 นำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ “ชุมชนจักรยาน นวัตกรรมตอบโจทย์ SDGs ” จากแกนนำชุมชนและคนทำงานในเมือง–ชุมชน

5.3 Keynote Speech และทัศนคติ ต่อการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานของผู้บริหารเมืองที่มีประสบการณ์ “เพิ่มกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) ลดการเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior , SB ด้วยการเดินและจักรยาน เปลี่ยนเมืองได้”
5.4 นำเสนอนิทรรศการ Think Globally, Bike – Walk Locally

6. หน่วยงานที่รับผิดชอบ ผู้สนับสนุน และองค์กรร่วมจัด
จัดโดย : มูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย
สนับสนุนโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

รายชื่อองค์กรเจ้าภาพร่วม (อยู่ระหว่างประสานงาน)
1. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
4. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
7. สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)
8. สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม (สปค.) กระทรวงคมนาคม
9. สมาคมวิจัยวิทยาการขนส่งแห่งเอเชีย (ATRANS)
10. สถาบันวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ(Smart City innovative Research Academy–SCiRA)
11. สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
12. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน)
( รายชื่อองค์กรเจ้าภาพร่วมอาจมีการเปลี่ยนแปลง )

7. รายละเอียดเพิ่มเติม Website : http://www.ibikeiwalk.org หรือ http://forum.ibikeiwalk.org/
โทรศัพท์ : 02 618 4434 โทรสาร : 02 618 4430
Email : http://bikeandwalkforum@gmail.com
ลงทะเบียนร่วมการประชุมผ่าน QR Code ข้างล่างนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

Print Friendly, PDF & Email