Home ข้อมูลความรู้ งานวิจัย เดินปั่นบันดาลใจ

เดิน & จักรยานเชื่อมต่อรถสาธารณะ เพิ่ม PA ลด SB เพื่อสุขภาพดีและชุมชนเมืองน่าอยู่
World Health Organization(W H O) ถึงกับต้องกำหนดเป้าหมายให้มีการลดอัตราพฤติกรรมเนือยนิ่ง(Sedentary Behavior:SB) เพิ่มกิจกรรมทางกาย (PA – Physical Activity) ให้มากขึ้นเพราะแนวโน้มที่ผู้คนเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs)มีสถิติสูงขึ้นมาก
เมื่อหันกลับมาดูแนวทางของสถาบันการเดินและการจักรยานไทย ก็พบว่าบทบาทของสถาบันฯในการผลักดันเรื่องเดิน&จักรยาน ในทุกมิติเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายระดับโลก และตอกย้ำว่าคือกุญแจสำคัญสู่สุขภาพดี สังคมดี
แล้วอะไรคือฟันเฟืองสำคัญที่จะทำให้ประเด็นสาธารณะนี้ มีแรงกระเพื่อนมมากขึ้นและเป็นรูปธรรมขยายวงกว้างออกไปได้ มีบุคคล 3 ท่านที่มีประสบการณ์ในด้านต่างๆทีเกี่ยวข้องกับการเดิน&การจักรยาน ร่วมให้มุมมองและตอบคำถามทีว่านี้

World Health Organization(W H O) ถึงกับต้องกำหนดเป้าหมายให้มีการลดอัตราพฤติกรรมเนือยนิ่ง(Sedentary Behavior:SB) เพิ่มกิจกรรมทางกาย (PA – Physical Activity) ให้มากขึ้นเพราะแนวโน้มที่ผู้คนเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs)มีสถิติสูงขึ้นมาก
เมื่อหันกลับมาดูแนวทางของสถาบันการเดินและการจักรยานไทย ก็พบว่าบทบาทของสถาบันฯในการผลักดันเรื่องเดิน&จักรยาน ในทุกมิติเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายระดับโลก และตอกย้ำว่าคือกุญแจสำคัญสู่สุขภาพดี สังคมดี
แล้วอะไรคือฟันเฟืองสำคัญที่จะทำให้ประเด็นสาธารณะนี้ มีแรงกระเพื่อนมมากขึ้นและเป็นรูปธรรมขยายวงกว้างออกไปได้ มีบุคคล 3 ท่านที่มีประสบการณ์ในด้านต่างๆทีเกี่ยวข้องกับการเดิน&การจักรยาน ร่วมให้มุมมองและตอบคำถามทีว่านี้

เพิ่มPA ลดSBสุขภาพดีขึ้นทันมีเมื่อเราเคลื่อนไหว
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สสส.) ในฐานะคนทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพโดยตรง วันนี้คุณหมอไพโรจน์จะมาอธิบายให้ชัดว่าทำไมเราต้องลุกขึ้นมาเดินและขี่จักรยานกัน กิจกรรมทางกาย (PA – Physical Activity) หมายถึงอะไร และพฤติกรรมเนือยนิ่ง (SB – Sedentary Behavior) ส่งผลเสียอย่างที่เราคิดไม่ถึงอย่างไร

นิยามใหม่
“Physical Activity หมายถึง การขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นคำวิชาการใหม่ครอบคลุมคำที่เราเคยรู้มาก่อน เช่น คำว่า ออกกำลังกาย คำว่า เล่นกีฬา ซึ่งดีต่อสุขภาพทั้งหมด ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาจะมีรูปแบบ แต่กิจกรรมทางกาย คำใหม่นี้ครอบคลุมการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายทั้งหมด เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ขยับแข้งขยับขาต่างๆ ซึ่งถ้าให้ดีต่อสุขภาพองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่าต้องมีกิจกรรมทางกายในระดับปานกลางหรือหนักให้ได้ 150 นาทีต่อสัปดาห์เป็นอย่างน้อย จากเป้านี้เคยมีสำรวจประมาณปี 2555 คนไทยออกกำลังกายเพียงพอตามนี้อยู่ที่ประมาณ 66 % ตอนนี้ขยับมาเป็นประมาณ 74 % โดยเราตั้งเป้าที่ 75 % ซึ่งนี่เป็นเป้าหมายระดับโลกที่ประเทศไทยไปตกลงไว้กับ WHO

อีกประเด็นที่เราต้องทำไปด้วยคือ การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง การนั่งเฉยๆ ไม่ขยับเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น นั่งดูทีวี นั่งหน้าจอ ซึ่งมีผลเสียต่อสุขภาพเทียบเคียงได้กับการสูบบุหรี่ ซึ่งแม้เราจะออกกำลังได้เพียงพอ 150 นาทีต่อสัปดาห์ แต่ถ้าระหว่างวันเรานั่งนิ่งๆ นานเกินไปก็ไม่ดี ระหว่างวันต้องขยับเขยื้อนร่างกายด้วย ง่ายๆ ลุกขึ้นไปเดินสัก 10 นาทีทุก 2 ชั่วโมง”

การส่งเสริม 4 มิติ
“ในระดับโลกและระดับประเทศมีเป้าหมายที่สอดคล้องกัน ในระดับโลกแบ่งการทำงานส่งเสริมออกเป็น 4 มิติ ได้แก่ 1. Create Active Society 2. Create Active Environment 3. Create Active People และ 4. Create Active System ซึ่งคล้ายกับที่ไทยทำ เพราะการส่งเสริมกิจกรรมทางกายต้องทำที่คน ทำให้คนมีความรู้ มีทัศนคติที่ดีในการออกกำลังกาย แล้วต้องไปทำพื้นที่ให้พร้อม ทั้งเชิงกายภาพ เชิงสังคมให้เหมาะสม ต้องทำสิ่งแวดล้อมที่พร้อมให้คนออกไปใช้ชีวิตได้ แล้วก็ทำระบบสนับสนุน เพราะฉะนั้น สสส.ก็ทำเรื่องพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ ให้คนมีพื้นที่ในการออกไปใช้ชีวิตที่แอ็กทีฟได้ เราทำเป็นโมเดลตัวอย่างพื้นที่ เพื่อส่งต่อให้เจ้าภาพไปจัดการต่อ ส่งเสริมให้เกิดระบบการทำงานเชื่อมต่อกับหน่วยงานอื่นๆ ด้วย”

จักรยานในชีวิตประจำวัน
“ความสำเร็จที่เรามักพูดถึงคือ เรื่องวิ่ง เรากระตุ้นให้คนสนใจวิ่งมากขึ้น จำนวนคนวิ่งเพิ่มเป็นประมาณ 15 ล้านคน จากประมาณ 5 ล้านคนเมื่อสมัยก่อน ระหว่างนี้จักรยานก็บูมขึ้นมาด้วย มีการขี่จักรยานเพื่อออกกำลังกาย ท่องเที่ยว แต่สิ่งที่เราอยากให้มากขึ้นคือ จักรยานในชีวิตประจำวัน เรามีข้อมูลว่ามีคนใช้จักรยานประมาณ 10 ล้าน ในจำนวนนี้นักกีฬามีอยู่ประมาณ 1,000 คน มีกลุ่มขี่จักรยานท่องเที่ยวที่แต่งตัวสวยๆ ใส่ชุดกีฬาประมาณ 100,000 คน ที่เหลือจำนวนมากที่สุดหลายล้านคนคือ ขี่ในชีวิตประจำวัน ขี่ไปโรงเรียน ขี่ไปซื้อของในตลาด เราจึงอยากเน้นทำงานกับคนกลุ่มใหญ่ที่ขี่จักรยานเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะจะช่วยลดทั้งพฤติกรรมเนือยนิ่ง และเพิ่มกิจกรรมทางกายที่หลากหลาย แล้วช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมได้ด้วย”

จักรยานเชื่อมต่อการเดินทาง
“เรื่องจักรยานหลายภาคส่วนทำเรื่องพื้นที่ด้วย พัฒนาให้เกิดจังหวัดที่มีเลนจักรยาน มีสนามให้แข่ง มีสวนให้ปั่น แล้วที่เราส่งเสริมต่อไปคือ การขี่จักรยานมาขึ้นรถไฟฟ้า มาต่อรถขนส่งสาธารณะเพื่อที่คนจะได้ไม่ต้องใช้น้ำมัน ใช้รถยนต์ให้น้อยลง เราอยากเห็นภาพจักรยานเป็นการเดินทางหลัก คนเลือกใช้เป็นอย่างแรก แต่จะเกิดได้เส้นทางต้องมีความปลอดภัย สะดวก มีจุดจอดจักรยานที่เพียงพอ แล้วต้องสร้าง Mind Set ให้คนตระหนักว่าจักรยานเป็นโหมดของการเดินทางหนึ่ง อาจเริ่มที่การทำกายภาพ มีลู่และเลนจักรยานโดยเฉพาะ ซึ่งอาจเหมาะกับบางพื้นที่ แต่บางพื้นที่เป็นการใช้ทางร่วมกัน ไม่ได้มีเลนจักรยานเฉพาะ มีการส่งเสริมให้คนรู้ว่าเส้นทางนี้มีจักรยานร่วมใช้อยู่ด้วย ต้องขับขี่อย่างระมัดระวัง ทำระบบการเชื่อมต่อระหว่างจากบ้าน ขี่จักรยานมาขึ้นรถไฟฟ้าจะเชื่อมต่ออย่างไร จอดรถตรงไหน”

สุขภาพดีเริ่มที่ตนเอง
“ในแง่ที่ทุกคนทำได้ อยากเชิญชวนทุกคนลองกลับไปใช้ชีวิตในแบบที่เราไม่ค่อยมีอุปกรณ์เสริมมากมาย เทคโนโลยีที่พัฒนามาหลากหลายถ้าเรารู้จักใช้จะทำให้สุขภาพเราดีได้ ไม่ใช่ปล่อยให้เทคโนโลยีต่างๆ มากลืนกินเวลาในชีวิตของเราไป จนลืมสิ่งที่เราเคยทำดี เมื่อก่อนเราเดินกันมาก เดินกันได้ทั้งวัน ขี่จักรยานไปนั่นไปนี่กันทุกวันได้ แต่พอมีสิ่งอำนวยความสะดวกเข้ามาเราลืมสิ่งที่เราเคยทำดีอยู่แล้ว เทคโนโลยีควรเป็นตัวเสริม มาช่วยกระตุ้นเราให้หันกลับไปทำสิ่งที่เราเคยทำได้”

เดินและจักรยานทำได้ทุกวัน

อัจจิมา มีพริ้ง ผู้จัดการโครงการ สถาบันการเดินและการจักรยานไทย ในฐานะคนปฏิบัติการงานการเดินและจักรยานในชีวิตประจำวัน มาเล่าให้ฟังถึงยุทธศาสตร์การทำงานที่พยายามเปลี่ยนวิถีชีวิต ความคิด และพฤติกรรมของผู้คนในสังคม

ภารกิจเพิ่ม PA ลด SB
“ภารกิจของสถาบันที่ส่งเสริมการเดิน การใช้จักรยานเป็นวิถีในการเพิ่ม PA แบบง่ายๆ ที่ทำได้ทุกคน ทำได้ทุกวัน การทำงานแบ่งเป็น 2 ระดับ ระดับนโยบาย และระดับชุมชน ทำนโยบายอย่างเดียวถ้าไม่ทำระดับฐานรากของชุมชนก็จะไม่เห็นผลชัด เราจึงส่งเสริมการใช้จักรยานในชุมชน ส่งเสริมให้คนเดินและใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน จากเดิมภาพของจักรยานคือการออกกำลังกาย หรือปั่นไปเที่ยว แต่เราทำงานเรื่องการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันจนคำนี้ปรากฎสู่สังคม สร้างการรับรู้ใหม่เกี่ยวกับการใช้จักรยาน งานอีกส่วนเป็นเรื่องงานวิจัย งานวิชาการ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับนโยบาย การสร้างพลังทางสังคมเรื่องเดินและจักรยานจึงต้องทำงาน 3 ส่วน นโยบาย องค์ความรู้ และการทำงานกับฐานรากของสังคม”

เปลี่ยนความคิด ปรับพฤติกรรม
“การทำงานในเรื่องนี้แบ่งออกเป็น 5-6 ด้าน อย่างที่อาจารย์ธงชัยเคยให้แนวคิดไว้ ทั้งเศรษฐศาสตร์ พฤติกรรม วิศวกรรมศาสตร์ กฎหมาย แต่สิ่งที่ยากที่สุดคือ การเปลี่ยนพฤติกรรมและความคิดคน เพราะแม้ทำโครงสร้างพื้นฐานมีทางจักรยานแล้ว แต่คนไม่ใช้ เพราะเขาอาจไม่มั่นใจ ยังรู้สึกไม่ปลอดภัย การเปลี่ยนความคิดคนต้องใช้เวลาในการนำเสนอให้เขาเห็นภาพ พยายามหาตัวอย่างที่ดีจากต่างประเทศมาสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนบ้านเรา อีกอย่างหนึ่งถ้าผู้นำทำเรื่องนี้เป็นตัวอย่าง เช่น นายกเทศมนตรีออกมาปั่นจักรยานเป็นวิถี ก็ไปสร้างแรงกระตุ้นให้คนในชุมชนอยากใช้ เป็นคนที่นำทางความคิด นำทางการกระทำ ช่วยเปลี่ยนระบบความคิด ทัศนคติ ค่านิยมของสังคมให้เห็นมุมการใช้จักรยานเป็นบวกมากกว่าลบได้”

สร้างฐานคิดใหม่ให้กับเยาวชน
“ที่ผ่านมาเราไม่ได้ถูกปลูกฝังให้เข้าใจความจริงที่ว่าการเดินและการใช้จักรยานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต จริงๆ แล้วเราควรปลูกฝังเรื่องนี้ตั้งแต่เด็ก ทำให้เด็กรุ่นใหม่เข้าใจว่าการเดินและจักรยานไม่ใช่แค่เรื่องการออกกำลังกาย ไม่ได้อยู่ในชั่วโมงพละศึกษาเท่านั้น แต่การเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันเป็นการมีกิจกรรมทางกายที่เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของเราทุกคนได้จริงๆ สถาบันฯก็ได้เข้าไปทำงานกับเด็กและเยาวชน แต่เป็นในส่วนการทำกิจกรรมในวันหยุดเท่านั้น เราเข้าไปทำกิจกรรมกับเด็กได้บางกลุ่ม แต่เรื่องนี้ยังไม่ได้ถูกหยิบยกเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอน หรือเป็นคู่มือในหลักสูตรที่เป็นกิจจะลักษณะ”


กายภาพต้องเอื้อให้เชื่อมต่อรถไฟฟ้า

รศ.ดร.ประพัทธ์พงษ์ อุปลา ผู้อำนวยการโครงการส่งเสริมการเดินทางด้วยจักรยานเชื่อมต่อรถไฟฟ้า และผู้อำนวยการสำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นักออกแบบผังเมืองเปิดเผยว่ากุญแจสำคัญให้คนออกมาเดินและใช้จักรยานคือ การออกแบบพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าให้เชื่อมต่อการเดินทางได้ง่าย

มีรถไฟฟ้าแต่ไม่มีระบบเชื่อมต่อ
“โครงการส่งเสริมการเดินทางด้วยจักรยานเชื่อมต่อรถไฟฟ้าเริ่มมาตั้งแต่เริ่มทำรถไฟฟ้า 20 ปีที่แล้ว ตอนทำรถไฟฟ้าก็คิดว่าคนจะมาใช้ แต่ปรากฏว่าพบปัญหาการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า คนเข้าถึงยาก กายภาพมีปัญหา สัก 10 กว่าปีที่แล้วเริ่มเรียนรู้แนวคิดระบบเชื่อมว่าเราควรพัฒนาเรื่องการเดิน การใช้จักรยาน หรือระบบขนส่งสาธารณะขนาดรองที่จะเข้าถึงรถไฟฟ้า

เริ่มมีการศึกษาปี 2542 เพื่อใช้จักรยานเชื่อมต่อกับสถานีอารี มีโครงการที่เริ่มผลักดันใช้จักรยานในระยะไม่เกิน 5 กิโลเมตรมาเชื่อมต่อรถไฟฟ้า เริ่มมีคนคิดเรื่องการส่งเสริมการเดิน จนมาถึง 5 ปีหลัง จึงมีการคิดเรื่อง Transit Oriented Development (TOD) หมายถึง การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้คนเดิน ใช้จักรยานได้ ภาครัฐก็ผลักดัน รถไฟฟ้าต่างๆ ก็เริ่มศึกษา แต่ฟังก์ชั่นที่จะเข้าถึงเลยก็ยังมีปัญหา ถ้าเรามีระบบรถไฟฟ้าแล้วไม่มีระบบเชื่อมต่อที่ดี คนก็ยังใช้รถยนต์อยู่ดี อย่างลาดกระบังอยู่ใกล้ๆ แอร์พอร์ตลิงค์ 5 กิโลเมตรเอง แต่เราไม่มีรถเมล์ ไม่มีอะไรเชื่อมไปได้เลย กลายเป็นเดินทางลำบากแล้ว”

การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี
“การเดินทางเชื่อมต่อถ้าภาครัฐไม่จัดเตรียมสาธารณูปโภคไว้ให้ก็จะไม่ค่อยประสบความสำเร็จ ทางนโยบายก็อยากจะส่งเสริม แต่ทางกายภาพที่มียังไม่ค่อยเอื้อให้ประชาชนใช้ได้เท่าไหร่ ที่เมืองนอกเขาพัฒนารถไฟฟ้าได้สำเร็จ ส่วนใหญ่จะพัฒนาที่ดินรอบๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา ย่านธุรกิจ ที่อยู่อาศัย เขาจัดการทางเดินให้เรียบ เดินได้ ใช้จักรยานได้ง่าย ตัวอย่างที่เห็นชัดในเอเชีย โตเกียว โซล ไต้หวัน คนใช้จักรยานไปขึ้นรถไฟฟ้าได้ง่าย แต่ของเราไม่ได้ออกแบบพื้นที่ไว้ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เรามีแนวคิดจะส่งเสริม ภาครัฐอาจพูดและคิด แต่การทำงบประมาณที่ลงมายังไม่มากเท่าที่ควร”

การออกแบบกายภาพให้เอื้อ
“การออกแบบกายภาพที่ดี ทางเดินที่สะดวก ถนนที่ปลอดภัยสำหรับการใช้จักรยาน ถ้าบ้านอยู่รอบสถานีรถไฟฟ้ารัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร ควรเดินหรือใช้จักรยานมาเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าได้ง่ายๆ แต่ถ้ารัศมีเกิน 5 กิโลเตร ต้องคิดระบบเสริม ระบบรองในการเดินทาง มีรถบัส รถมินิบัสวิ่ง ภาครัฐต้องทำเรื่องระบบเหล่านี้ ซึ่งปัจจุบันอาจติดกฎต่างๆ เส้นทางให้บริการต้องไปขอสัมปทาน เป็นต้น

ในระยะ 5 กิโลเมตรที่ปั่นจักรยานไปได้ แต่ก็พบว่าที่จอดหายาก ซึ่งตอนนี้เกือบทุกสถานีมีที่จอดจักรยาน เพราะภาคประชาชนก็เคยไปผลักดันให้มีที่จอดทุกสถานี แต่ปัญหาคือยังไม่สะดวกในการใช้ เช่น ป้ายต่างๆ ที่จะบอกทางไปสถานีรถไฟฟ้า ป้ายที่บอกทางตั้งแต่ภายนอก ชุมชนรอบๆ สถานี ไม่ใช่แค่ป้ายภายในสถานี กายภาพพวกนี้ ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ยังไม่เอื้อเพียงพอ”

การพัฒนาสถานีต้นแบบเชื่อมต่อ
“ต้องพิจารณารายละเอียดแต่ละสถานีไป สถานีที่คนใช้เยอะๆ เช่น สถานีห้วยขวาง มีที่จอดจักรยานเยอะมาก สิ่งที่ต้องหาทางพัฒนาต่อคือ ทางระหว่างซอยที่คนจะขี่จักรยานมาถึงสถานี ไม่มีทางจักรยานเลย สำหรับพื้นที่ที่มีคนใช้เยอะๆ ควรทำทางจักรยานเพื่อให้คนใช้รู้สึกปลอดภัย แต่ถ้าสถานีไหนคนใช้ไม่เยอะไม่จำเป็นต้องมี หากมองตามความเป็นจริงเรายังไกลพอสมควรกับความเป็นเมืองจักรยาน เรายังไม่เห็นภาพการใช้จักรยานเดินทางอย่างชัดเจน ผมเชื่อว่าตอนนี้ทุกบ้านมีจักรยานหมดแล้ว สิ่งที่ภาครัฐต้องทำต่อคือ ทำทางเดิน ทางจักรยาน ทำที่จอด ทำกายภาพทั้งหมดให้เอื้อ ถ้าเมื่อไหร่คนใช้จักรยานมาเชื่อมรถไฟฟ้าแล้วใช้ได้ง่ายกว่าขับรถยนต์ คนจะเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาใช้”

และพร้อมกันนี้ “เรากำลังทำงานวิจัยเรื่อง ส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน ไปเชื่อมต่อรถไฟฟ้า กรณีศึกษา คือ สายสีม่วง จำนวน 3 สถานที่ ที่เตาปูน กระทรวงสาธารณสุข และตลาดบางใหญ่ เพื่อศึกษาความต้องการของคนโดยรอบสถานีรัศมีประมาณ 0-3 กิโลเมตร ว่าปัจจัยใดที่จะสนับสนุนให้เขาเดิน หรือปั่นจักรยานมาเชื่อมต่อรถไฟฟ้า เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นในการเดินทาง”

Print Friendly, PDF & Email