Home ข้อมูลความรู้ บทความ การแพร่ระบาดของ COVID-19 กับการลดมลพิษ ฟื้นฟูเมืองด้วยเดินและจักรยาน

แปลและเรียบเรียงโดย : สรัสวดี โรจนกุศล

แต่เราเห็นสัญญาณบางอย่างที่ให้กำลังใจในบางเมืองที่มีการใช้จักรยานในเมืองพุ่งสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ในเมืองบัวโนสไอเรส มีการใช้จักรยานในเมืองเพิ่มขึ้น 129% เมื่อเทียบกับก่อนมีการล็อคดาวน์ และพบว่าระบบจักรยานปันกันใช้ของจีนก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

แต่ในหลายๆ ประเทศยังมีปัจจัยเงื่อนไขที่ท้าทาย สำหรับคนใช้จักรยานและคนเดินเท้า เช่น ในอินเดีย มีทางเท้าเพียง 10% ของถนนในเมือง ซึ่งส่งผลให้ผู้ใช้บริการขนส่งที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ (NMT) ซึ่งก็คือคนเดินหรือคนที่ใช้จักรยานนั้นเองที่มีการเสียชีวิตสูง ในแอฟริกาคนเดินเท้า และคนใช้จักรยานเสียชีวิตจากการจราจรบนท้องถนนมากถึง 44% ซึ่งสถานการณ์ไม่เป็นที่ยอมรับ และทุกคนจะต้องไม่รู้สึกเหมือนกับกำลังเล่นการพนันที่มีการเดิมพันด้วยชีวิตทุกครั้ง เมื่อตัดสินใจเดิน หรือขี่จักรยานไปตามถนน

เหตุใดการขนส่งที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ (NMT) (การเดินหรือการใช้จักรยาน) จึงไม่ค่อยได้รับความนิยม จนต้องทำให้เมืองต่างๆ ทั่วโลกได้มีการวางแผน การทำคู่มือเพื่อสนับสนุนการใช้จักรยานและการปรับโครงสร้างพื้นฐานด้านการเดิน อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้พลเมืองรับรู้ มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดและให้ความสนใจที่จะเลือกการเดินทางด้วยการเดินและใช้จักรยานมากขึ้น ทำให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจหลายคนต้องทบทวนบทบาทของการขนส่งแบบแอ็คทีฟเสียใหม่ ซึ่งในเมืองใหญ่หลายแห่งได้นำแนวคิดและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางในรูปแบบนี้มุ่งไปสู่การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ยกตัวอย่างเมืองลิมาและโบโกตาในละตินอเมริกา หรือเบอร์ลินและมิลานในยุโรป รวมถึงคิซูมูในเคนยา โอ๊คแลนด์ และมีเมืองมากกว่า 1,800 เมืองที่ดำเนินการเพื่อสนับสนุนการเดินทางแบบ NMT ตั้งแต่เริ่มการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมอย่างเช่น

  • ปิดถนนบางสายสำหรับยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ ในโอกแลนด์เมืองนี้ปิดถนนเกือบ 10%
  • การขยายพื้นที่หรือการสร้างโซนที่มีลำดับความสำคัญใหม่สำหรับคนใช้จักรยานและคนเดินเท้าเช่น พื้นที่ใช้ร่วมกันของเวียนนา (shared spaces) ชื่อโครงการ Begegnungszonen หรือ (Encounter Zones)
  • การสร้างช่องทางจักรยานชั่วคราวหรือ “ป๊อปอัป” ผ่านการแทรกแซงต้นทุนต่ำ (ป้ายกรวยจราจรอุปสรรคคอนกรีต) ดังที่เห็นในลิมาหรือเบอร์ลิน
  • จัดหาอุปกรณ์และการเงินเช่น อุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับจักรยานสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ใช้จักรยานห้องอาบน้ำในที่ทำงาน ตัวอย่างเช่นในอินเดีย Cycles4Change Challenge กำลังช่วยเมืองต่างๆ ในการสร้างความสามารถในการเปิดตัวระบบจักรยานปันกันใช้หรือสร้างช่องทางจักรยานแบบป๊อปอัป

    และนี้ก็ทำให้ประชาชนได้สัมผัสกับพื้นที่ในเมืองที่ปราศจากการจราจรที่มีเสียงดังเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การเพิ่มขึ้นของรถยนต์ หลายคนค้นพบการเดินและขี่จักรยานอีกครั้งทำให้ถนนในเมืองเต็มไปด้วยผู้คนมากกว่ารถยนต์ ท่ามกลางความโกลาหลทั้งหมดของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เราได้เห็นว่าเมืองที่เป็นมิตรกับคนเดินเท้าและเป็นมิตรกับจักรยานจะเป็นอย่างไร โดยมีผู้เสียชีวิตบนท้องถนนน้อยลง มลพิษน้อยลงและสภาพแวดล้อมในเมืองที่ดีขึ้น

    การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เราไม่อยากให้เป็นเพียงแฟชั่นที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านเลยไป แต่ตอนนี้การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เราเห็นถึงความสำคัญของการขนส่งที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ที่กล่าวถึงคือการเดินหรือการใช้จักรยาน ว่าเรามีโอกาสเล็ก ๆ ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางได้ ถึงแม้ว่าตอนนี้จะเป็นแค่ในช่วงระยะสั้นๆ แต่อาจจะกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวที่สามารถสร้างความน่าอยู่ให้กับเมืองสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในเมืองสำหรับทุกคน

    แล้วประเทศไทยของเรา การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีผลกระทบต่อรูปแบบการเดินทางหรือไม่…… จากข้อมูลก็จะได้ว่า การเดินทางของคนในกรุงเทพก็สอดคล้องกับหลายๆ เมืองทั่วโลก โดยการเดินทางด้วยรถยนต์ได้รับความนิยมจากประชาชนมากกว่าการเดิน พวกเราจะสามารถใช้โอกาสนี้ทำอะไร เพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนให้คนไทยปรับเปลี่ยนวิธีการเดินทางในระยะทาง 3-5 กิโลเมตร มาเดินหรือใช้จักรยานเพื่อการเดินทางในชีวิตประจำได้หรือไม่……. “ได้สิเริ่มที่ตัวเราเองก่อน” ง่ายๆเลยนะ จากที่บ้านหรือห้องพักไปซื้อของที่ปากซอย ลองเดินไปซื้อของแทนการนั่งวินมอเตอร์ไซค์ก็ได้นะ……. เราบอกเลยว่าสิ่งที่คุณจะได้คือ สุขภาพดี ฟรี สะอาด(เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) ด้วยนะ

ที่มาของแหล่งข้อมูล :

  1. https://blogs.worldbank.org/transport/covid-19-creates-new-momentum-cycling-and-walking-we-cant-let-it-go-waste
  2. https://covid19.apple.com/mobility
  3. https://metropole.at/5-begegnungszonen/

 

 

 

 

Print Friendly, PDF & Email