Home ข้อมูลความรู้ งานวิจัย คนพิการ ร่วมเสนอแนวทาง เพื่อสร้างความเท่าเทียมแก่ผู้ใช้ทางเท้า


คนพิการ ร่วมเสนอแนวทาง
เพื่อสร้างความเท่าเทียมแก่ผู้ใช้ทางเท้า

ในประเทศไทยมีคนพิการ 1662,826 คน อยู่ในกรุงเทพฯมากที่สุดคือ 67,035 คน
(ข้อมูลจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  1 เม.ย.58)

ซึ่งนับเป็นจำนวนไม่น้อย ผู้พิการจึงเป็นกลุ่มคนในสังคมที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล และช่วยเหลือสนับสนุนอย่างไรให้พวกเขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และไม่เป็นภาระแก่สังคม การที่จะสามารถไปไหนมาไหนได้ด้วยตนเองก็นับเป็นการลดภาระแก่ผู้ดูแลได้ สาธารณูปโภคพื้นฐานด้านการเดินทางสำหรับผู้พิการจึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ

จากงานวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมและความพึงพอใจ ในการใช้ทางเดินเท้าของคนพิการในเขตชุมชนเมือง” ที่จัดทำโดยสถาบันการเดินและการจักรยานไทย มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจและควรถูกหยิบยกมาพูดถึง นั่นก็คือ ความคิดเห็นของผู้พิการ ในฐานะผู้ต้องใช้ทางเท้าร่วมกันกับบุคคลอื่นในสังคม

เมื่อสำรวจความต้องการโครงสร้างพื้นฐานของ(ตัวแทน)กลุ่มคนพิการจาก 12 องค์กร(ข้อมูลจาก “ถนนยุคใหม่ใส่ใจผู้ใช้ทาง”ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย) พบ 5 ข้อเสนอที่น่าสนใจดังนี้

1.ใช้หลักการออกแบบระบบการเดินทางเพื่อคนทั้งมวล(Universal Design)
2.จัดให้มีจุดเชื่อมต่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงสถานที่ราชการและสถานที่สาธารณะได้ทุกแห่ง
3.จัดให้มีกระบวนการ การมีส่วนร่วมในการวางผังพัฒนาทาง
4.บังคับใช้กฏหมายเกี่ยวกับทางเท้าที่มีอยู่แล้วอย่างเข้มงวดและจริงจัง
5.สร้างเจตคติที่ดีของสาธารณะต่อคนพิการ

จะทำอย่างไรให้เสียงสะท้อนของผู้พิการเหล่านี้ดังไปถึงผู้เกี่ยวข้อง และเกิดการเปลี่ยนแปลงสร้างความเท่าเทียมในการใช้ทางเท้าให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

Print Friendly, PDF & Email