Home ข้อมูลความรู้ งานวิจัย 6 ปัจจัยที่ทำให้การใช้จักรยานเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสำเร็จ


6 ปัจจัยที่ทำให้การใช้จักรยานเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสำเร็จ

มีข้อมูลจากการศึกษาการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์(Non-Motorized Transport:NMT) และการปรับปรุงการเชื่อมต่อการเดินทางระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการขนส่งอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมปี2557 โดยสำนักนโยบายและแผนการขนส่งจราจร(สนข.) พบว่า ประชาชนเห็นด้วยต่อการส่งเสริมให้เดินหรือใช้จักรยานไปเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนว่า ประชาชนมีความพร้อม ให้ความร่วมมือหากมีปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเดินและการจักรยาน ซึ่งในหลายๆประเทศทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จ มี 6 ปัจจัยสำคัญๆทีน่าเป็นกรณีศึกษาอย่างยิ่ง

ปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้พลเมืองหันมาให้ความสนใจใช้จักรยานเดินทางเชื่อมต่อกันมากขึ้นคือ

1.มีที่จอดที่ปลอดภัยสำหรับจักรยานในกิโลเมตรแรก
ผลการศึกษาพบว่า ที่จอดต้องใกล้ชานชะลาประมาณ10-15 เมตรสามารถเข้าถึงได้ง่าย มีจำนวนที่จอดมากพอ สวยงาม แปลกตา ชวนให้อยากจอด หากมีคนเฝ้าให้ด้วยจะช่วยเพิ่มความมั่นใจต่อผู้ใช้

2.มีจักรยานให้ยืมใช้/ปันกันใช้ ร่วมกันในกิโลเมตรสุดท้าย
มีจักรยานให้บริการหลังจากลงจากสถานีปลายทาง เพื่อเดินทางเชื่อมต่อไปยังสถานที่ทำงานหรือที่อื่นๆ

3.มีการทำงานแบบบูรณาการกันในหลายองค์กร/ภาคี
ได้แก่ หน่วยงานที่ที่จัดหาที่จอดจักรยานบริการจักรยานที่ปันกันใช้ได้ การร่วมมือกับระบบจอดแล้วจร เป็นต้น

4.มีการจัดการเรื่องการจ่ายค่าบริการที่ดี
ระบบการจ่ายค่าเดินทางเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ทั้งระบบขนส่งสาธารณะและค่าบริการที่จอดจักรยาน

5.มีการสื่อสารรณรงค์ และสร้างจิตสำนึก
มีกิจกรรมรณรงค์ที่สร้างสรรค์ ทำให้เห้นว่าจักรยานเป็นยานพาหนะที่มีความสำคัญ เห็นชัดเจน

6.มีโครงสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัย สำหรับการขี่จักรยานไปยังสถานีหรือจุดหมายปลายทางหลังลงจากรถไฟฟ้า

และจากผลการศึกษาพบว่า มีคนใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น คนใช้จักรยานมากขึ้น ปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลง เมืองน่าอยู่มากขึ้น พลเมืองสุขภาพดีขึ้น และราคาค่าเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะถูกลงอีกด้วย

ซึ่งแนวคิดโครงการส่งเสริมการใช้จักรยานเพิ่มกิจกรรทางกาย เชื่อมต่อรถไฟฟ้า โดยสถาบันการเดินและการจักรยานไทย ได้รวบรวมประสบการณ์จากประเทศที่สำเร็จเหล่านี้เพื่อเป็นแนวทาง รวมถึงทำการศึกษาวิจัยโอกาสและความเป็นไปได้ในประเทศไทย เพื่อสามารถเป็นตัวอย่างให้กับการวางแผนให้มีการออกแบบและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนายความสะดวกให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าที่มีอยู่จำนวนมากในปัจจุบัน สามารถเข้าถึงรถไฟฟ้าได้ง่าย สะดวก และปลอดภัย

(ข้อมูลจาก:BiTiBi Change the Transit Paradlgm หรือ Bike Train Bike โครงการจากจักรยานสู่รถไฟฟ้าไปต่อด้วยจักรยาน เป็นโครงการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการที่สนับสนุนโดยEU)

Print Friendly, PDF & Email