Home ข้อมูลความรู้ บทความ แนวทางการพัฒนาพื้นที่ย่านชานเมืองให้เป็นมิตรต่อคนเดินเท้ามากขึ้น

แปลและเรียบเรียงบทความโดย : นนทนีย์ วิบูลย์กุล


เครดิตภาพ : https://www.cnu.org/

เราอาจจะเคยได้ยินเรื่องรูปแบบการพัฒนาเมืองให้เป็น Walkable City กันมาบ้างแล้ว ในวันนี้มูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทยจึงอยากนำเสนอบทความวิชาการ จาก Congress for the New Urbanism หรือ CNU ในสหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อว่า Enabling Better Places: Commercial Corridors and Shopping Centers ที่ได้บอกเล่าแนวทางการเปลี่ยนย่านชานเมืองที่แสนธรรมดาในสหรัฐอเมริกา ให้กลายเป็นย่านที่เป็นมิตรต่อคนเดินเท้ามากยิ่งขึ้น โดยการที่จะเปลี่ยนพื้นที่ย่านชานเมืองให้กลายเป็นย่านที่เป็นมิตรต่อผู้เดินเท้านั้น อาจดูเป็นงานที่ยาก โดยเฉพาะย่านชานเมืองที่มีการออกแบบตามแบบผังเมืองที่เก่าและล้าสมัย ดังนั้นหากจะสร้างแนวทางการพัฒนาย่านชานเมืองที่มีประสิทธิภาพและสามารถพลิกโฉมย่านชานเมืองรูปแบบเดิมๆที่ไม่เอื้อต่อผู้เดินเท้าให้กลายเป็นเมืองเดินได้นั้น ควรมีแนวทางและทิศทางการพัฒนาพื้นที่อย่างชัดเจน มีการบูรณาการทางความคิด รวมถึงมีการจัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความจำเป็นสำหรับผู้ที่อาศัยในชุมชน และควรจัดลำดับความสำคัญในการพัฒนาตามความต้องการของประชาชนที่อยู่อาศัยพื้นที่นั้นๆ โดยในบทความดังกล่าวนำเสนอแนวทางการพัฒนาย่านชานเมืองในสหรัฐอเมริกาเพื่อให้เอื้อต่อการเดินเท้ามากขึ้นดังนี้

  1. ต้องมีการแชร์วิสัยทัศน์ รวมถึงการร่างแผนการดำเนินงานร่วมกัน
    หากต้องการพัฒนาเมืองธรรมดาไปสู่เมืองที่เดินได้ การทำงานจะต้องระบุเป้าหมายอย่างชัดเจน รวมถึงต้องมีการสร้างความเข้าใจกับผู้ที่อาศัยในพื้นที่ เพื่อให้คนในพื้นที่รวมถึงคนทั่วไปรับรู้รับทราบแนวทางการพัฒนาและรูปแบบการดำเนินงาน สิ่งที่สำคัญของนักพัฒนาพื้นที่จะต้องรู้คือ คุณต้องรู้ location ที่ชัดเจนก่อนว่าคุณต้องการพัฒนาพื้นที่ตรงส่วนไหน แล้วค่อยมาหาแนวทางทีหลังว่าคุณจะพัฒนาพื้นที่ๆตรงนั้นได้อย่างไร
  2. วิเคราะห์ทรัพยากร และ สิ่งที่มีอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย
    การวิเคราะห์ หรือ ประเมิน ทรัพยากรและสิ่งที่มีอยู่ว่าในพื้นที่ๆเราต้องการพัฒนานั้นมีอะไรบ้าง นับได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญ
    เพราะชุมชน-เมือง ในแต่ละพื้นที่ย่อมมีสภาพแวดล้อมและทรัพยากรที่แตกต่างกัน การวิเคราะห์ดังกล่าวจะช่วยให้นักพัฒนาพื้นที่ ประเมินความเป็นไปได้ โดยเฉพาะทิศทางการดำเนินงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหลังจากที่ได้มีการดำเนินงานแล้ว
  3. การจัดสรรงบประมาณ/การลงทุน เพื่อปรับโครงสร้างพื้นฐาน
    การจัดสรรงบประมาณ/การลงทุนโดยภาครัฐสามารถเชื่อมโยงไปสู่การลงทุนโดยภาคเอกชนได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอำนาจในการจัดสรรงบประมาณ ยกตัวอย่างเช่น ข้าราชการท้องถิ่น หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องคำนึงถึงการแนวทางการจัดสรรงบประมาณ/การลงทุน เพื่อใช้ในการปรับโครงสร้างพื้นฐานต้องเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ รวมถึงผลลัพธ์การดำเนินงานจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของชุมชนและผู้ที่อาศัยในพื้นที่เป็นหลัก
  4. การตราระเบียบหรือข้อบังคับ
    การตราระเบียบหรือข้อบังคับเป็นหนึ่งแนวทางที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงสังคมได้ ดังนั้นการจะเปลี่ยนแปลงพื้นย่านชานเมืองให้กลายเป็นพื้นที่ๆเป็นมิตรต่อการเดินเท้าได้นั้น ต้องอาศัยระเบียบหรือข้อบังคับเพื่อควบคุมจำนวนรถยนต์และการใช้รถยนต์ภายในพื้นที่ย่านชานเมือง และเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ที่เดินเท้าในย่านชานเมืองมากขึ้น การมีระเบียบหรือข้อบังคับจึงเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญในการสร้างเมืองที่เดินได้ให้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตามการตราระเบียบหรือข้อบังคับต้องสามารถใช้ได้จริงและครอบคลุมเสมอภาค ไม่ควรเจาะจงใช้ระเบียบหรือข้อบังคับกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสังคม
  5. การปรับปรุงพื้นที่ถนน
    ถนน เป็นพื้นที่ๆมีส่วนสำคัญและเป็นพื้นฐาน(Fundamental) สำหรับการพัฒนาพื้นที่ย่านชานเมืองที่ดูล้าสมัยให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง การปรับปรุงพื้นที่ถนนในย่านชานเมืองให้ดูสวยงามเอื้อต่อผู้ใช้งาน ย่อมมีส่วนช่วยในการดึงดูงการลงทุนในพื้นที่มากขึ้น ขยายโอกาสเศรษฐกิจชุมชน สนับสนุนแนวทางการใช้ถนนในรูปแบบใหม่เพื่อให้เอื้อต่อคนเดินเท้าและมีส่วนช่วยสร้าง new developable land ได้อีกด้วย
  6. ลดพื้นที่จอดรถสำหรับรถยนต์
    การออกแบบสภาพแวดล้อมในย่านชานเมืองแบบเก่าๆที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มักจะหลงลืมการจัดสรรพื้นที่จอดรถให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องต่อสภาพแวดล้อม การที่จะพัฒนาและสร้างพื้นที่สำหรับการเดินเท้าให้ได้นั้น การออกแบบเมืองต้องค่อยๆลดปริมาณพื้นที่จอดรถยนต์ในย่านชานเมืองให้น้อยลง ซึ่งจะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้ที่อาศัยในชุมชนและย่านชานเมืองหันมาเดินทางด้วยการเดินเท้ามากขึ้น
  7. เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น
    สภาพแวดล้อมในพื้นที่ย่านชานเมืองโดยส่วนใหญ่มักจะเป็นพื้นที่โล่งกว้างและอากาศแห้งร้อน แม้ตัวเมืองจะมีพื้นที่ขนาดใหญ่แต่พื้นที่เหล่านั้นมักจะไม่ค่อยเป็นมิตรต่อผู้ที่เดินเท้าสักเท่าไหร่ ดังนั้นการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ และ เพิ่มพื้นที่สีเขียวในโซนพื้นที่สาธารณะ จะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยสนับสนุนให้คนที่อาศัยในพื้นที่เลือกเดินเท้ามากขึ้น
  8. ปลี่ยนรูปแบบการใช้ที่ดิน
    การหมุนเวียนใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพเป็นอีกหนึ่งงานที่สำคัญ เพื่อปรับปรุงรูปแบบการใช้ที่ดินแบบเดิมที่ล้าสมัยและไม่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาพื้นที่ย่านชานเมืองเท่าใดนัก ดังนั้นแนวทางการปรับปรุงพัฒนาภูมิทัศน์เมืองในอนาคต จึงควรมีการนำเสนอวิสัยทัศน์สำหรับการออกแบบและพัฒนาเมืองที่สอดคล้องกับ Community’s Vision และคำนึงถึงผู้ที่อาศัยในเมืองอย่างแท้จริงเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ดินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  9. มีการคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต
    ขั้นตอนการปรับปรุงการพัฒนาพื้นที่ในย่านชานเมือง โดยทั่วไปนั้นมีทั้งความยากและง่าย แต่การคาดการณ์แนวโน้มสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะช่วยให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ เทศบาลเมือง สามารถชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ บริหารจัดการและพัฒนาผลลัพธ์จากการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของเมืองท่ามกลางการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย 

     

    จากแนวทางที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการสร้าง Walkable City เป็นประเด็นที่หลายประเทศให้ความสนใจรวมถึงประเทศที่มีค่า Walk Score ค่อนข้างสูงอยู่แล้วก็ยังคงให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวในการส่งเสริมรูปแบบการพัฒนาเมืองให้เป็นมิตรต่อการเดินเท้าของประชาชน

    ย้อนกลับมามองที่บ้านเรา….ควรมีการปรับปรุงและพัฒนาเมืองในหลายๆแห่งให้รองรับการเดินเท้าที่ปลอดภัยสำหรับประชาชนและสามารถเดินได้จริงในชีวิตประจำวัน เพราะมิติของการเดินสามารถเชื่อมโยงทั้งในส่วนสุขภาพของประชาชน เพราะการเดินนับว่าเป็นกิจกรรมทางกายรูปแบบหนึ่งที่ช่วยลดสภาวะเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) รวมถึงช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ดังเช่นบทความของ Mr.Tristan Cleveland นักผังเมืองแห่งศูนย์ Happy City ประเทศแคนาดา ผู้ศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างการเดินและเศรษฐกิจเมือง ได้กล่าวให้เห็นภาพชัดว่า หลายเมืองที่พัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นเมืองที่ประชาชนสามารถเดินได้ มักมีเลข GDP ที่ค่อนข้างสูง หรือมีอัตราการบริโภคมวลรวมในเมืองที่สูงมาก ซึ่งหมายถึงเม็ดเงินที่หมุนเวียนในระบบ และข้อเสียของเมืองที่ไม่สามารถเดินเท้าได้นั้นมักจะมีปัญหารถติด การใช้พื้นที่อย่างไม่คุ้มค่าเพราะนำพื้นที่ส่วนใหญ่ไปเป็นที่จอรถ รวมถึงประชาชนต้องเสียเวลาในการหาที่จอดรถซึ่งเป็นเวลาที่สูญเสียไปโดยใช่เหตุ ดังนั้นการสร้างเมืองที่เดินได้ให้เกิดขึ้นจริงจึงเป็นอีกแนวทางการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน และเป็นมิตรต่อประชาชนที่อาศัยในเมืองทุกระดับ

References

  1. ชยากรณ์ กำโชค. (2562). คนยิ่งเดินเมืองยิ่งรวย เมืองเดินได้ช่วยกระจายรายได้สู่กระเป๋าผู้ค้ารายย่อย. The Urbanis by UddC. ที่มา:
    https://theurbanis.com/economy/05/11/2019/251
  2. Robert Steuteville. (2564). Incremental steps toward pedestrian-friendly suburbs. Public Square, a CNU Journal. ที่มา: https://www.cnu.org/publicsquare/2021/01/04/incremental-steps-toward-pedestrian-friendly-suburbs
Print Friendly, PDF & Email
badai scatter mahjong ways 3 melanda saking cuannya bang ojol inisukses maxwin scatter mahjong wins 2 kang bubur auto liburan ke thailand bareng keluargahujan scatter mahjong ways 2 berikan harapan kepada mang ojek ini buat beli motor impiannyadengan jepe big win mahjong ways petugas pom bensin ini bisa masuk kerja pakai bmwmahjong wins mampu memikat para anggota karena mudah menang setiap harimahjong wins tanpa gangguan pak roki tidak perlu bertani lagiputaran aktif mahjong wins antar budiman jackpot 73 jutaslot gacorslot rtp gacorkaisar89