Home ข้อมูลความรู้ งานวิจัย เมืองหลวงเยอรมัน ปฏิวัติจราจรครั้งใหญ่ด้วยจักรยาน

“เบอร์ลิน” เป็นเมืองหลวงของเยอรมัน ซึ่งอดีตรู้กันดีว่าเป็นเมืองหนึ่งที่มีอากาศบริสุทธิ์ และสิ่งแวดล้อมสะอาด

แต่ปัจจุบัน ภาพของเบอร์ลินกำลังเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากประชากรที่เพิ่มขึ้น การจราจรที่แออัด วุ่นวายมากขึ้น ส่งผลให้คุณภาพอากาศของเบอร์ลินเริ่มแย่ลง จนกระทั่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มเมืองอากาศเลวร้ายสำหรับการขี่จักรยาน

เหล่าผู้บริหารนโยบายของเยอรมันมองว่า เป็นวาระครั้งสำคัญ ที่จะฟื้นให้เบอร์ลินกลับมาน่าอยู่ดังเดิม

ภารกิจในการปฏิวัติสิ่งแวดล้อมครั้งนี้ มีหลายวิธี เช่น การวางแผนลดขยะ ลดการสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ลดการใช้ยานยนต์และพลังงานเชื้อเพลิง

ซึ่งทางออกที่ดีที่สุดก็สรุปลงที่ “เพิ่มการใช้จักรยาน” นั่นเอง

แผนปฏิวัติจะเริ่มด้วยการปรับเปลี่ยนผังเมือง โดยสร้างซูเปอร์ไฮเวย์สำหรับจักรยานถึง 12 แห่ง เพื่อเชื่อมต่อเบอร์ลินกับชานเมืองอื่นๆ

สำหรับถนนทั่วไป จะถูกปรับให้มีขนาดกว้างขึ้นอีก 12 ฟุต เพื่อใช้สำหรับคนเดินและจักรยานได้สะดวกขึ้น ใช้สัญลักษณ์เลนส์สีเขียว แยกออกจากถนนที่รถโดยสาร โดยมีเสากั้น ในระยะ 35 นิ้ว เพื่อป้องกันความปลอดภัยแก่คนใช้จักรยาน

การทุ่มเงินลงทุนครั้งนี้ จะใช้เงินราวๆ 50 ล้านยูโรต่อปี หรือประมาณ 60 ล้านเหรียญ ที่คาดว่าจะช่วยกระตุ้นการใช้จักรยานเพิ่มขึ้น และช่วยลดมลพิษในอากาศ จนกว่าเบอร์ลินจะได้ชื่อว่ามีระดับคุณภาพพ้นวิกฤต

ทั้งนี้ นายกเทศมนตรีของเบอร์ลินมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาจราจรและสภาพแวดล้อม โดยมีวิสัยทัศน์ที่ว่า “อยากให้เบอร์ลินกลายเป็นเมืองหลวงจักรยานของยุโรป” ​ในอนาคต

ที่มาข่าวและภาพ :  www.huffingtonpost.com

 

 

Print Friendly, PDF & Email